สถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหนึ่งในโครงการที่อยู่ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2557 เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น “50ปี แห่งการอุทิศเพื่อสังคม” เพื่อมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้องค์ความรู้อันเกิดจากการเรียน การสอน และการวิจัย เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่จริง

0 +

พื้นที่ดำเนินการ(จังหวัด)

0 +

เกษตรกรเข้าร่วม

0 +

ดำเนินกิจกรรม

0 +

ส่งเสริมปลูกพืช (ไร่)

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินงานในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม 12 อำเภอ 19 ตำบล 74 หมู่บ้าน ใน 7 ภูมินิเวศ ได้แก่ บริเวณแอ่งน้ำ(แก่งละว้า) ลุ่มน้ำพอง เขตพื้นที่ป่าและภูเขา ลุ่มน้ำปาว พื้นที่แห้งแล้ง และเขตเมือง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2,899 คน ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย เลี้ยงสัตว์ ประมง หัตถกรรมและแปรรูป โดยมีทีมคณาจารย์ นักวิชาการ และอาสาสมัครพัฒนาพื้นที่ร่วมปฏิบัติงานในพื้นที่ 146 คน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาพื้นที่กับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา มูลนิธิต่างๆ อีกด้วย

รายละเอียดการดำเนินงาน

 – ดำเนินงานใน 4 จังหวัด (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์) 12 อำเภอ 19 ตำบล 74 หมู่บ้าน ใน 7 ภูมินิเวศ ได้แก่ บริเวณแอ่งน้ำ (แก่งละว้า)ลุ่มน้ำพอง เขตพื้นที่ปาและภูเขา ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำปาว พื้นที่แห้งแล้ง และเขตเมือง

 – มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2,899 ราย

 – ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ จำนวน 134 กิจกรรม

 – ส่งเสริมการปลูกพืชหลักจำนวน 2,650 ไร่ พืชหลังนาจำนวน 700 ไร่

 – ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจำนวน 159 ไร่ เกษตรกร 586 ราย สร้างรายได้เฉลี่ยรายละ 5,000 บาทต่อเดือน

 – ส่งเสริมด้านสัตว์และประมงจำนวน 45 กลุ่ม 294 ครัวเรือน

 – ส่งเสริมด้านหัตถกรรมและแปรรูปผลิตภัณฑ์ จำนวน 16 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 285 ราย

 – ส่งเสริมกลุ่มการออมและวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 กลุ่ม 468 ราย

 – ฝึกอบรมความรู้ด้านการเกษตร และวิชาชีพจำนวนสะสมถึงปัจจุบัน 19,.693 ราย

 – จัดตลาดนัดและการออกร้านจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 23 ครั้ง

 – จัดทีมอาจารย์ นักวิชาการผู้รับผิดชอบ (กำนันแก้จน) และอาสาสมัครพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น
(อสพ.มข.) เพื่อร่วมปฏิบัติงานและประสานงานโครงการในพื้นที่จำนวน 146 ราย

กิจกรรมการดำเนินงาน

Powered By EmbedPress

Powered By EmbedPress

หัวหน้าโครงการ