สถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โครงการยกระดับอาชีพเกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) โดยหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาและยกระดับอาชีพเกษตรกรด้านการปลูกและการแปรรูปผักปลอดภัย และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรด้วยความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่
2. ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การผลิต จำหน่ายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

0 +

พื้นที่ดำเนินการ(จังหวัด)

0 +

เกษตรกรเข้าร่วม

0 +

ดำเนินกิจกรรม

0 +

ส่งเสริมปลูกพืช (ไร่)

รายละเอียดการดำเนินงาน

พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดหนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์  ได้แก่

1. โรงเรียนกุดสะเทียนใหม่ศรีทอง หมู่ 1 และ 6 ตำบลกุดสะเทียน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
2. บ้านคลองเจริญ หมู่ 8 ตำบลกุดสะเทียน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
3. บ้านหนองบัวน้อย หมู่ 1 ตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
4. บ้านท่าแร่ หมู่ 10 ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
5. โรงเรียนบ้านรัตนะ หมู่ 2 ตำบลโนนทอง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
6. บ้านโพนโพธิ์ หมู่ 7 ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
7. บ้านหว้างาม หมู่ 12 ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
8. บ้านโคกรัก หมู่ 11 ตำบลดอนอะราง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
9. บ้านแดงใหญ่ หมู่ 8 และ 13 ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
10. บ้านหนองคูใหญ่ หมู่ 6 ตำบลทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมดำเนินการในแต่ละพื้นที่

1. จังหวัดหนองบัวลำภู

1.1 โรงเรียนกุดสะเทียนใหม่ศรีทอง หมู่ 1 และ 6 ตำบลกุดสะเทียน อำเภอศรีบุญเรือง
พื้นที่ในโรงเรียนประมาณ 3 ไร่ จำนวนเกษตรกร 29 คน
กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ การสำรวจพื้นที่โดยการบินโดรนสำรวจสภาพทางกายภาพ มุมสูง การเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหาร การเตรียมแปลงแบบแปลงอิฐบล็อก การสำรวจและออกแบบระบบกระจายน้ำแบบสปริงเกอร์ในแปลงปลูก การสร้างโรงเรือนเพาะ / การอบรมให้ความรู้เรื่องการเพาะกล้าผักในถาดหลุม การกางสแลนพรางแสง การอบรมให้ความรู้เรื่องสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์ บิวเวอร์เรีย เมตาไรเซียม ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) การอบรมให้ความรู้เรื่องน้ำหมักนมไข่ การทำปุ๋ยคอกหมักแห้ง และการอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วังน้ำเขียว นครราชสีมา

1.2 บ้านคลองเจริญ หมู่ 8 ตำบลกุดสะเทียน อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
พื้นที่สาธารณะประมาณ 5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 14 คน
รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชบ้านคลองเจริญ หมู่ 8 ต.กุดสะเทียน กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ การสำรวจพื้นที่โดยการบินโดรน การเก็บตัวอย่างดินและน้ำเพื่อวิเคราะห์ค่าธาตุอาหาร การเตรียมแปลงและออกแบบแปลงปลูกแบบกระบะอิฐ การต่อระบบกระจายน้ำในแปลงหอพักถังสำรองน้ำ การติดตั้งโรงเรือน และการทำโต๊ะวางถาดเพาะกล้า การกางสแลนพรางแสง การอบรมให้ความรู้เรื่องสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมตาไรเซียม ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) การอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วังน้ำเขียว นครราชสีมา การทำปุ๋ยหมักแบบกลับกอง และการอบรมตลาดออนไลน์

2. จังหวัดกาฬสินธุ์

2.1 บ้านหนองบัวน้อย หมู่ 1 ตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด
พื้นที่สาธารณะประมาณ 5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 38 คน

รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยบ้านหนองบัวน้อย กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมเพาะกล้าผัก กิจกรรมระบบกระจายน้ำเข้าแปลงปลูก กิจกรรมกางสแลนพรางแสงให้พืชผัก กิจกรรมปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรือนเดิม กิจกรรมให้ความรู้การทำปุ๋ยคอกหมักแห้ง กิจกรรมการทำกับดักแมลง กิจกรรมการอบรมการทำสารชีวภัณฑ์ กิจกรรมการขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง กิจกรรมการทำน้ำหมักนมไข่ และกิจกรรมการเพาะกล้าผัก

3. จังหวัดขอนแก่น

3.1 บ้านท่าแร่ หมู่ 10 ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง
พื้นที่สาธารณะประมาณ 9 ไร่ จำนวนเกษตรกร 25 คน
รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดภัยแปลงใหญ่บ้านท่าแร่ กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ การบินโดรนสำรวจสภาพทางกายภาพ มุมสูง การเก็บตัวอย่างดินและน้ำส่งตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหาร การสร้างโรงเรือนปลูก โต๊ะปลูกในโรงเรือน และหารยกแปลง การติดตั้งหอถังพักสำรองน้ำ และระบบกระจายน้ำในแปลงแบบสปริงเกอร์ การพรางแสงโดยใช้สแลนพรางแสง การอบรมให้ความรู้เรื่องสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมตาไรเซียม ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) การอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วังน้ำเขียว นครราชสีมา อบรมการแปรรูปผักสลัด/น้ำผัก การแปรรูปผักเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และการอบรมตลาดออนไลน์

โรงเรียนบ้านรัตนะ หมู่ 2 ตำบลโนนทอง อำเภอแวงใหญ่
พื้นที่สาธารณะประมาณ 4 ไร่ จำนวนเกษตรกร 8 คน
กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมประชุมโครงการ กิจกรรมการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมการสำรวจพื้นที่ กิจกรรมการวัดพื้นที่ และการไถปรับพื้นที่ กิจกรรมการตรวจวิเคราะห์ดิน กิจกรรมการเพาะกล้า กิจกรรมการพรางแสง การสร้างโรงเรือนปลูก กิจกรรมการบำบัดน้ำ กิจกรรมการป้องกันพืชผักจากสัตว์รบกวน และกิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยคอกหมักแห้ง


4. จังหวัดร้อยเอ็ด

4.1 บ้านโพนโพธิ์ หมู่ 7 ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย
พื้นที่สาธารณะประมาณ 9.5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 24 คน
รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนปลูกผักอินทรีย์บ้านโพนโพธิ์ กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมจัดกระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค A-I-C กิจกรรมการเตรียมพื้นที่ และจัดการแปลงปลูกด้วยอิฐบล็อก กิจกรรมจัดการแปลงปลูกด้วยโต๊ะปลูกผัก กิจกรรมการเพิ่มแรงดันน้ำด้วยระบบแอร์แว กิจกรรมการเพาะกล้า กิจกรรมติดตั้งระบบกระจายน้ำในแปลง กิจกรรมการพรางแสง สร้างโรงเรือนเพาะกล้า กิจกรรมเก็บเกี่ยวผลผลิต และการอบรมขยายสาร
ชีวภัณฑ์ เชื้อบิวเวอร์เรีย ไตรโคเดอร์มา เมตาไรเซียม

4.2 บ้านหว้างาม หมู่ 12 ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
พื้นที่สาธารณะประมาณ 8 ไร่ จำนวนเกษตรกร 19 คน
รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนปลูกผักอินทรีย์บ้านหว้างาม กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมการบินโดรนสำรวจสภาพทางกายภาพมุมสูง กิจกรรมการเตรียมแปลง การเพิ่มแรงดันน้ำด้วยระบบแอร์แว กิจกรรมการตรวจวิเคราะห์ดิน กิจกรรมการเพาะกล้า กิจกรรมติดตั้งการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ กิจกรรมการพรางแสง การสร้างโรงเรือนเพาะกล้า กิจกรรมการขยายสารชีวภัณฑ์ บิวเวอร์เรีย เมตาไรเซียม ไตรโคเดอร์มา และกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์

5. จังหวัดบุรีรัมย์

5.1 บ้านโคกรัก หมู่ 11 ตำบลดอนอะราง อำเภอหนองกี่
พื้นที่สาธารณะประมาณ 5 ไร่ จำนวนเกษตรกร 23 คน
รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารบ้านโคกรัก กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ กิจกรรมการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมการตรวจวิเคราะห์ดิน กิจกรรมการสร้างโรงเรือนและโรงเรือนเพาะกล้า กิจกรรมการเพาะกล้า กิจกรรมติดตั้งระบบน้ำในแปลง กิจกรรมการพรางแสง การอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การทำกับดักแมลง การอบรมให้ความรู้เรื่องสารชีวภัณฑ์ กิจกรรมทำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย และกิจกรรมการแปรรูปอาหาร

5.2 บ้านแดงใหญ่ หมู่ 8 และ 13 ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง
พื้นที่สาธารณะประมาณ 47 ไร่ จำนวนเกษตรกร 43 คน
รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนปลูกผักโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์บ้านแดงใหญ่ กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ การสำรวจพื้นที่โดยการบินโดรนสำรวจสภาพทางกายภาพ มุมสูง การเก็บตัวอย่างดินและน้ำส่งตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหาร การทำโรงเรือนปลูก การกักเก็บน้ำโดยการขุดหนองน้ำและขุดคลองไส้ไก่ การเพิ่มแรงดันน้ำโดยระบบน้ำแอร์แว / การต่อระบบกระจายน้ำแบบน้ำหยด การอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การทำปุ๋ยหมัก / การทำน้ำหมัก การเพาะกล้าในถาดเพาะ การทำกับดักแมลง และกับดักผีเสื้อกลางคืน การขยายสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมตาไรเซียม ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) และการอบรมตลาดออนไลน์

5.3 บ้านหนองคูใหญ่ หมู่ 6 ตำบลทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่สาธารณะประมาณ 20 ไร่ จำนวนเกษตรกร 20 คน
รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษบ้านหนองคูใหญ่ กิจกรรมที่เข้าไปส่งเสริม ได้แก่ การสำรวจพื้นที่โดยการบินโดรนสำรวจสภาพทางกายภาพ มุมสูง การเก็บตัวอย่างดินและน้ำส่งตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหาร การทำระบบน้ำแบบระบบน้ำหยดในโรงเรือนปลูก และระบบสปริงเกอร์ในแปลง การสร้างโรงเรือนเพาะกล้า/การเพาะกล้าในถาดเพาะ/การปลูกเมล่อนในถุงปลูก การอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วังน้ำเขียว นครราชสีมา การทำปุ๋ยหมัก การทำกับดักแมลง และกับดักผีเสื้อกลางคืน การขยายสารชีวภัณฑ์ (ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมตาไรเซียม ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) การทำน้ำหมัก/ฮอร์โมนไข่ และการอบรมตลาดออนไลน์